วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

한국어 ภาษาเกาหลี IV [นี่คืออะไร?]

จะพยายามแยกบทเท่าๆกันทั้งสองภาษานี้

เริ่มจากคำศัพท์ที่จะใช้เหมือนเดิม
1.  이것       อีก็อด             สิ่งนี้
2.  그것       คือก็อด           สิ่งนั้น
3.  저것       ชอก็อด           สิ่งโน้น
4.  은/는      อึน/นึน            คำช่วย ชี้หัวเรื่อง/ประธาน
5.  무엇       มูอ็อด             อะไร
6.  이다       อีดา                เป็น/คือ
7.  가방       คาบัง              กระเป๋า
8.  시계       ชีกเย               นาฬิกา
9.  책           แช็ก                 หนังสือ

และสำหรับคำถาม "นี่คืออะไร" ในภาษาเกาหลี มีรูปแบบ ดังนี้

이것은 무엇입니까?             อีก็อดซึน มูอ็อดชิมนีก๊ะ              สิ่งนี้คืออะไร
그것은 무엇입니까?             คือก็อดซึน มูอ็อดชิมนีก๊ะ            สิ่งนั้นคืออะไร
저것은 무엇입니까?             ชอก็อดซึน มูอ็อดชิมนีก๊ะ            สิ่งโน้นคืออะไร

พอจะตอบก็เปลี่ยนคำถาม 무엇  เป็นคำศัพท์ที่จะตอบ แบบนี้

이것은  책입니다.                อีก็อดซึน  แช็กอิมนีดา            สิ่งนี้คือหนังสือ
그것은  시계입니다.            คือก็อดซึน  ชิ-กเยอิมนีดา       สิ่งนั้นคือนาฬิกา
저것은  가방입나다.            ชอก็อดซึน  คาบังอิมนีดา        สิ่งโน้นคือกระเป๋า

ควรรู้  :  입니다 อ่านว่า อิมนีดา  ไม่ใช่ อิบนีดา  เพราะว่า  เมื่อ ㅂ ตามด้วย ㄴ จะเปลี่ยนเป็นเสียง ㅁ

สงสัยกันรึเปล่าว่าทำไมถึงต้อง (는) ไว้
ขออธิบายนิดนึงคือ จากที่เรารู้ ในบทความ 한국어 vs 日本語 I [ประโยคเบื้องต้น]
รูปแบบประโยคภาษาเกาหลี
หัวเรื่อง/ประธาน (은/는, 이/가)  +  กรรม (을/를)  +  กริยา (ㅂ니다/습니다, 아/어/여요)

1.คำช่วยชี้หัวเรื่อง/ประธาน
은,  이   ใช้กับหัวเรื่อง/ประธานที่มีตัวสะกดในพยางค์สุดท้าย เช่น 이것 จะเติม 은 (เพื่อการโยงเสียง*)
는,  가   ใช้กับหัวเรื่อง/ประธานที่ไม่มีตัวสะกดในพยางค์สุดท้าย  เช่น  나  จะเติม 는

2.คำช่วยชี้กรรม
을   ใช้กับกรรมที่มีตัวสะกดในพยางค์สุดท้าย เช่น 꽃 จะเติม 을  (เพื่อการโยงเสียง*)
를   ใช้กับกรรมที่ไม่มีตัวสะกดในพยางค์สุดท้าย เช่น 너 จะเติม 를

*ในบทความ 한국어 ภาษาเกาหลี III [การผสมคำ]

และยังมีในเรื่องของการผันคำกริยา ซึ่งในภาษาเกาหลีมี  2  แบบ คือ
1. การผันกริยาแบบ ㅂ니다/습니다
2. การผันกริยาแบบ  아/어/여요

ในที่นี้เราจะเอาแต่แบบแรกก่อน คือ ㅂ니다/습니다
เห็นคำศัพท์ที่ให้ไว้คำที่ 6. ไหม?
6.  이다       อีดา                เป็น/คือ
คำกริยาในภาษาเกาหลีจะประกอบด้วย รากศัพท์(V.stem) + 다 เช่น
이다  =  이+다
오다  =  오+다
읽다  =  읽+다
แล้วทีนี้เวลาจะนำไปใช้ ต้องผันก่อน เวลาจะผันต้องตัด 다 ทิ้งไป ใช้แต่ V.stem

ㅂ니다     ใช้กับ V.stem  ที่พยางค์สุดท้ายไม่มีตัวสะกด  เช่น  이다  =  이 + ㅂ니다  =  입니다
습니다     ใช้กับ V.stem  ที่พยางค์สุดท้ายมีตัวสะกด  เช่น  읽다  =  읽 + 습니다  =  읽습니다

พอจะเป็นคำถามก็เปลี่ยน ㅂ니다/습니다 เป็น ㅂ니까?/습니까?

บทสนทนา
유천  :  이것은  무엇입니까?
창민  :  그것은  시계입니다.

유천  :  그것은  무엇입니까?
창민  :  이것은  책입니다.

유천  :  저것은  무엇입니까?
창민  :  저것은  가방입니다.

-----------------------------------------------------------------------------

เหมือนกับ 日本語 ภาษาญี่ปุ่น IV [นี่คืออะไร?] เราจะต่อด้วย คำถามที่ต้องตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่


이것은 책입니까?                 อีก็อดซึน แช็กชิมนีก๊ะ                 สิ่งนี้คือหนังสือใช่ไหม
그것은 시계입니까?             คือก็อดซึน ชี-กเยชิมนีก๊ะ            สิ่งนั้นคือนาฬิกาใช่ไหม
저것은 가방입니까?             ชอก็อดซึน คายบังชิมนีก๊ะ           สิ่งโน้นคือกระเป๋าใช่ไหม

ตอบว่า  네 (เน) ใช่, 아니오 (อานีโอ) ไม่ใช่

네, 이것은 책입니다.                          เน, อีก็อดซึน แช็กอิมนีดา                    ใช่ นี่คือหนังสือ
아니오, 이것은 책이 아닙니다.**     อานีโอ, อีก็อดซึน แช็กกี อานิมนีดา     ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่หนังสือ
아니오, 이것은 시계입니다.              อานีโอ, อีก็อดซึน ชี-กเยอิมนีดา          ไม่ใช่ นี่คือนาฬิกา
아니오, 이것은 책이 아닙니다. 시계입니다.     อานีโอ, อีก็อดซึน แช็กกี อานิมนีดา.ชี-กเยอิมนีดา   ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่หนังสือ คือนาฬิกา

**아니오, 이것은 책이 아닙니다.
การปฏิเสธว่านี่ไม่ใช่ กรรมจะลงท้ายด้วย 이/가 แล้วแต่ว่าพยางค์สุดท้ายของกรรมนั้นจะมีตัวสะกดหรือไม่ + 아닙니다 (มาจาก 아니다 แปลว่า ไม่ใช่)

บทสนทนา
재중 : 이것은 시계입니까?
준수 : 네, 그것은 시계입니다.

재중 : 저것은 가방입니까?
준수 : 아니오, 저것은 가방이 아닙니다. 책입니다.

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

日本語 ภาษาญี่ปุ่น IV [นี่คืออะไร?]

ตอนนี้เราจะมาเริ่มประโยคคำถามแบบเบสิคของภาษาญี่ปุ่น

ด้วยการถามว่า นี่คืออะไร?  これは  なんですか。

จากนี้ไป ในบทความภาษาญี่ปุ่นจะมีคำอ่านแบบโรมันจิให้ด้วย
แต่ทางที่ดีก็อยากให้จำตัวอักษรฮิระงะนะ กับคะตะคะนะให้ได้นะ

เริ่มที่คำศัพท์ที่จะใช้ในบทนี้

1. これ  kore       นี่
2. それ       sore        นั่น
3. あれ       are          โน่น
4. は           wa          คำช่วย ชี้หัวเรื่อง/ประธาน
5. なん  nan         อะไร
6. です  desu       เป็น/คือ
7. か   ka          คำช่วย วางท้ายประโยคเพื่อแสดงคำถาม
8. かばん    kaban    กระเป๋า
9. とけい     tokei      นาฬิกา
10. ほん      hon        หนังสือ

รูปแบบประโยคจะเป็นแบบนี้

これは なんですか。 korewa  nandesuka       นี่คืออะไร
それは なんですか。 sorewa  nandesuka       นั่นคืออะไร
あれは なんですか。 arewa  nandesuka        โน่นคืออะไร

ถึงจุดนี้คงจะสงสัยกันว่าทำไม は(ha) ในนี้ถึงอ่านว่า wa  (สงสัยกันไหม?? สงสัยเถอะนะ)
เพราะว่ามันมาเป็นคำช่วยไง 555 ปกติอ่าน ha เหมือนเดิมแหละ แต่ถ้าเป็นคำช่วยอ่าน wa
#เป็นคำตอบที่แถมาก คนเขียนก็ไม่รู้ เพิ่งเรียนเหมือนกัน

เวลาตอบก็ตอบตามบริบทเดิมของคำถาม แต่เปลี่ยนคำถาม なん เป็นคำตอบ
และอย่าลืมตัดคำช่วย か ออกไปด้วย

เช่น

これは とけいです。 korewa  tokeidesu  นี่คือนาฬิกา
それは ほんです。   sorewa  hondesu     นั่นคือหนังสือ
あれわ かばんです。arewa  kabandesu  โน่นคือกระเป๋า

นี่ก็คือคำถามที่มีปุจฉาสรรพนาม (Question words)

บทสนทนา (เอาไว้ฝึกอ่าน)
たなか:これは なんですか。
やまだ:それは ほんです。

たなか:それは なんですか。
やまだ:これは とけいです。

たなか:あれは なんですか。
やまだ:あれは ほんです。

*สังเกตว่า เมื่อจบประโยค ไม่ว่าจะเป็นคำถาม หรือบอกเล่า ต้องใช้  。ปิดท้ายประโยค

--------------------------------------------------------------------------------------

ทีแรกว่าจะเริ่มบทความใหม่ แต่มันสั้นไป เอามาต่อกันซะ
ครึ่งหลังนี้จะเป็นคำถามที่ไม่มีปุจฉาสรรพนาม (เรียกยากดีจัง)

รูปแบบก็คล้ายๆครึ่งแรก แต่จะแทนคำศัพท์ลงไปเลย

เช่น
これは とけいですか。  korewa  tokeidesuka   นี่คือนาฬิกาใช่ไหม
それは ほんですか。          sorewa  hondesuka      นั่นคือหนังสือใช่ไหม
あれは かばんですか。      arewa  kabandesuka    โน่นคือกระเป๋าใช่ไหม

เวลาตอบ ก็จะตอบแบบ ใช่  はい (hai), ไม่ใช่ いいえ  (iie)
แบบสั้นๆ
はい、とけいです。                     hai, tokeidesu                                ใช่ คือนาฬิกา
いいえ、とけいではありません。iie,  tokeidewaarimasen                 ไม่ใช่ ไม่ใช่นาฬิกา
いいえ、とけいではありません。ほんです。iie,  tokeidewaarimasen. hondesu   ไม่ใช่ ไม่ใช่นาฬกา คือหนังสือ

แบบยาวๆ
はい、これは とけいです。                    hai, korewa tokeidesu                ใช่ นี่คือหนังสือ
いいえ、これは とけいではありません。     iie, korewa tokeidewaarimasen  ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่หนังสือ
いいえ、これは とけいではありません。これは ほんです。iie, korewa tokeidewaarimasen korewa hondesu  ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่นาฬิกา นี่คือหนังสือ

**สังเกตอีกอย่าง เครื่องหมายคั่นประโยคของญี่ปุ่น 、 เป็นแบบนี้

บทสนทนา
たなか:これは とけいですか。
やまだ:はい、とけいです。

たなか:それは ほんですか。
やまだ:いいえ、ほんではありません。これは かばんです。

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

한국어 vs 日本語 I [ประโยคเบื้องต้น]

กลับมาแล้ว 555 ถึงไม่มีใครเข้ามาอ่านก็จะเขียนนะ
เหมือนเป็นการทบทวนความรู้ตัวเองไปในตัว

ในบทความนี้ จะเริ่มที่ประโยคง่ายๆ
อยากเอามาเขียนรวมกัน เนื่องจากสองภาษานี้มีความใกล้เคียงกันค่อนข้างมาก
แล้วถ้าเขียนแยก บางทีอาจจะเนื้อหาน้อยเกินไป

อีกอย่างก็คือ คนเขียนชอบเอาอะไรๆมาเปรียบเทียบกัน แล้วจำมันรอบเดียว
ขี้เกียจจำหลายรอบ แถมยังจะตีกันในสมองอีก

เริ่มจาก โครงสร้างประโยค บางคนอาจจะรู้แล้วว่ามันเป็นยังไง (เหมือนคนเขียน)
แต่ก็อยากทบทวนนิดนึง ยิ่งทบทวนมากยิ่งเข้าสมอง

รูปประโยคนั้น แตกต่างจากภาษาไทยแน่นอน เนื่องจากภาษาไทยจะวางประธานไว้หน้าประโยค
แล้วจึงตามมาด้วย กริยา และกรรมตามลำดับ ดังนี้

ประธาน + กริยา + กรรม
เช่น   ฉัน + รัก + เธอ

แต่ในส่วนของภาษาเกาหลีนั้น

ประธาน + กรรม + กริยา
เช่น   ฉัน + เธอ + รัก

เช่นเดียวกับภาษาญี่ปุ่น

ประธาน + กรรม + กริยา
เช่น   ฉัน + เธอ + รัก

ต้องจำไว้เลยว่าสองภาษานี้ ส่วนอื่นๆของประโยคจะต้องอยู่ด้านหน้า และท้ายประโยคจะต้องเป็นกริยา

--------------------------------------------------------------

อีกหนึ่งเรื่องก็คือ สองภาษานี้ มีคำช่วย
ในบทความนี้ขอบอกแค่เบื้องต้นก่อน และจะไปเจาะลึกที่บทความต่อๆไป

ภาษาเกาหลี
หัวเรื่อง/ประธาน (은/는, 이/가)  +  กรรม (을/를)  +  กริยา (ㅂ니다/습니다, 아/어/여요)

ภาษาญี่ปุ่น
หัวเรื่อง/ประธาน (は) + กรรม (を) + กริยา (です)

จะสังเกตว่ามี หัวเรื่อง/ประธาน มันคืออะไร?
คำตอบก็คือ สองภาษานี้เน้นความสำคัญไปที่หัวเรื่อง ถ้ามีหัวเรื่องอื่น ประธานต้องเปลี่ยนคำช่วยชี้

หัวเรื่องคือ ส่วนที่เป็นใจความหลักของประโยค ซึ่งอาจจะเป็นประธานหรือไม่ใช่ประธาน
เ่ช่น ฉันดื่มน้ำผลไม้
หัวเรื่องในประโยคนี้ คือ ประธาน ซึ่งก็คือ ฉัน

วันนี้ฉันไปโรงเรียนสาย
หัวเรื่องในประโยคนี้ คือคำว่า วันนี้

ผู้หญิงคนนั้นชื่อฮานะ
หัวเรื่องในประโยคนี้ คือ ผู้หญิงคนนั้น

--------------------------------------------------------------

สำหรับบทความนี้ก็ขอพอแค่นี้ก่อนแล้วกันนะ เราจะค่อยๆเจาะลึก แล้วค่อยสรุป
เพราะถ้าเอาทั้งหมดมารวมกัน คงเวียนหัว อ้วกแตกแน่เลย
เนื่องจากมันเยอะ 555

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

日本語 ภาษาญี่ปุ่น III [การออกเสียง]

จากบทความที่แล้ว เรื่องของตัวอักษร บทความนี้จะมาที่การออกเสียง
แหะๆ ไม่ใช่ว่าจะมาสอนสำเนียงเจ้าของภาษาแต่อย่างใด
แค่จะมาบอกข้อควรทราบในการออกเสียงเล็กๆน้อยๆ

เริ่มที่การออกเสียงยาว
*ยกเว้นบางคำที่ตามด้วย え เช่น   ええ、おねえさん

**ยกเว้นบางคำที่ตามด้วย  お เช่น   おおい、おおかみ、こおり เป็นต้น

งงอ่ะดิ คือว่าปกติภาษาญี่ปุ่นจะเป็นเสียงสั้นๆใช่ไหม แล้วทีนี้เมื่อต้องการให้เป็นเสียงยาว
แถวของ あ、か、さ、た、な、は、ま、や、ら、わ ซึ่งเป็นเสียง อะ จะเติมท้ายด้วย あ
มันเหมือนกับเป็นการเน้นย้ำเสียง ลองออกเสียง อะอะ มันก็จะเป็น อา
เช่นกันกับ อิอิ, อุอุ  แต่พิเศษที่สองเสียงสุดท้าย ที่เป็น  เอะอิ  และ  โอะอุ  ไม่ใช่  เอะเอะ และ โอะโอะ

ต่อมาคือ ตัว  つ เล็ก  (っ)
จะออกเสียงตามพยัญชนะที่ตามมา  คือ  k, s, t, p เช่น

              きっぷ จะอ่านว่า  ki p pu

และยังมีการรวบเสียงอีก  คือ  เมื่อเสียง  あ เจอกับเสียง  い
จะออกเสียงรวบไป ดังนี้

        あ(อะ) + い(อิ) = あい (ไอ)

------------------------------------------------------------------------

อยากเสริมในเรื่องของตัว  ん 「ひらがな」 และ  ン 「カタカナ」
เป็นตัวสะกดตัวเดียวในภาษาญี่ปุ่น  ซึ่งสามารถออกเสียง ได้ทั้ง  น, ม, ง

1.ออกเสียง  ม  เมื่อตามด้วยพยัญชนะ  b, m, p
2.ออกเสียง  ง  เมื่อตามด้วยพยัญชนะ  g, h, k  หรืออยู่พยางค์สุดท้ายของคำ

นอกเหนือจากนี้ ออกเสียง  น  ทั้งหมด

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

日本語 ภาษาญี่ปุ่น II 「カタカナ คะตะคะนะ」

มาเริ่มปวดหัวกันต่อเลยดีกว่า กับ

ตัวอักษร คะตะคะนะ カタカナ

อยากอธิบายก่อนนิดนึงว่าตัวอักษรฮิระงะนะนั้น ใช้ทั่วไป ส่วนคะตะคะนะนั้นใช้กับคำศัพท์ที่ยืมมาจากต่างประเทศ (ทับศัพท์)


* เพิ่มเติมสำหรับตัว  シ (shi)  กับ  ツ (tsu)
หลายคนอาจสงสัยว่ามันต่างกันยังไง  คือว่า  シ (shi)  เส้นที่ยาวที่สุดนั้นขีดจากล่างขึ้นบน
ส่วน  ツ (tsu)  ขีดจากบนลงล่าง

เช่นเดียวกับ  ソ (so)  กับ  ン (n)
ン (n)  ขีดจากล่างขึ้นบน  ส่วน  ソ (so)  ขีดจากบนลงล่าง

อีกตัวคือ  ノ  (no)  ถึงจะไม่มีตัวที่คล้ายกันมาให้งง แต่ก็อยากบอกไว้ว่าต้องขีดจากบนลงล่าง

และแน่นอน การเติมและการควบเสียง  เหมือนกันกับตัวอักษรฮิระงะนะ

การเติม  ゛ 「てんてん tenten」
ในวรรค  ka  ==>  ga
sa  ==>  za
ta  ==>  da
ha  ==>  ba

และการเติม ゜ 「まる maru」
ในวรรค  ha  ==>  pa


การควบเสียง ของ や ゆ よ
เยอะแยะ ยุ่งยากจริงอะไรจริง เฮ้อ!!!

日本語 ภาษาญี่ปุ่น I 「ひらがな ฮิระงะนะ」

เอาล่ะ จากภาษาง่ายๆอย่างภาษาเกาหลี เราจะมาที่ภาษายากๆอย่างภาษาญี่ปุ่นแล้ว

ต้องบอกเลยว่าระบบตัวอักษรนั้นไม่เหมือนกัน
เนื่องจากภาษาเกาหลี จะใช้วิธีการผสมคำ เหมือนในภาษาไทย คือต้องมีพยัญชนะ สระ และตัวสะกด
แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้น แต่ละตัวอักษรมีวิธีอ่านของตัวเอง และจะแยกอ่านเป็นตัวๆไป

ดังนั้นภาษาญี่ปุ่น จึงค่อนข้างยากต่อการจดจำตัวอักษร
(พูดไปแล้วน้ำตาจะไหล T^T ยากเว่อร์)

เริ่มเลย

เอาเป็นว่าจะสอนตัวโรมันจิ  Romanji  ก่อน เพื่อความง่ายในการอ่านนะ

a  อะ                      i   อิ                      u  อุ                e  เอะ               o  โอะ

k  =  ค                   s  =  ส                  t  =  ต               n  =  น              h  =  ฮ
m  =  ม                  y  =  ย                  r  =  ร                g  =  ก              z  =  ซ
d  =  ด                   b  =  บ                 p  =  ป               j  =  จ

ประมาณนี้

ตัวอักษรแรกที่จะมาสอน คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า ฮิระงะนะ ひらがな
โหย  เยอะขนาดนี้จะจำได้ยังไงเนี่ย

คำตอบคือท่องจำค่ะ  วิธีที่คนเขียนบล็อกนี้เกลียดที่สุด แต่มันจำเป็นสำหรับภาษานี้

แต่ความยากมันยังไม่ได้จบเท่านี้ ยังมี
การเติม  ゛ 「てんてん tenten」
ในวรรค  ka  ==>  ga
sa  ==>  za
ta  ==>  da
ha  ==>  ba

และการเติม ゜ 「まる maru」
ในวรรค  ha  ==>  pa

และอภินันทนาการจากแดนปลาดิบยังไม่จบเพียงเท่านี้ ยังมีการควบเสียง ของ や ゆ よ
ดังนี้

จะสังเกตเห็นว่า
1.や ゆ よ เมื่อนำมาเป็นตัวควบแล้วจะเขียนตัวเล็กลงครึ่งหนึ่ง
2.อ่านควบ เช่น  きゃ  ก็จะอ่านเป็น เคียะ
3.พยัญชนะที่นำมาควบเสียง จะอยู่ในเสียง อิ เช่น คิ ชิ จิ เป็นต้น รวมถึงพยัญชนะที่มีการเติม ゛ 、゜
ยกเว้นเพียงแค่ตัว ぢ เพียงตัวเดียวเท่านั้น

*เพิ่มเติมคือ    き 、 さ  ถ้าจะเขียนให้ถูกต้องจริงๆเส้นจะไม่ติดกัน (แต่เนื่องจากฟ้อนต์มันก็เลยเป็นอย่างนี้)

ปวดหัวตึ้บ ตึ้บแล้วล่ะสิ
แต่ใครบอกว่าอักษรญี่ปุ่นจะมีแบบเดียวล่ะ บทความต่อไปเราไปผจญภัยต่อที่ตัวอักษรอีกแบบของญี่ปุ่น
คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า คะตะคะนะ カタカナ

한국어 ภาษาเกาหลี III [การผสมคำ]

เรียนพยัญชนะ  และ สระไปแล้ว
เราก็จะมาเริ่มในเรื่องของการผสมคำ

แต่ก่อนอื่นต้องมาดูที่  "มาตราตัวสะกด"สักนิด

มาตราตัวสะกด ภาษาเกาหลี  มีทั้งหมด  7  มาตรา  คือ
1.  มาตรา  แม่กก  ประกอบด้วย  ㄱ,  ㅋ,  ㄲ,  ㄳ,   ㄺ
2.  มาตรา  แม่กน  ประกอบด้วย  ㄴ,  ㄵ,  ㄶ
3.  มาตรา  แม่กด  ประกอบด้วย  ㄷ,  ㅅ,  ㅈ,  ㅊ,  ㅎ,  ㅌ,  ㅆ,  ㅉ
4.  มาตรา  แม่กม  ประกอบด้วย  ㅁ,  ㄻ
5.  มาตรา  แม่กง  ประกอบด้วย  ㅇ
6.  มาตรา  แม่กล  ประกอบด้วย  ㄹ,  ㄼ,  ㄽ,  ㄾ,  ㅀ
7.  มาตรา  แม่กบ  ประกอบด้วย  ㅂ,  ㅍ,  ㅄ,  ㄿ

ก็ดูๆตามเสียงเสียส่วนใหญ่  แต่ก็ยังมีตัวสะกดผสม  O.O'!!!
ซึ่งให้ดูตามตัวที่อยู่ด้านหน้า  ยกเว้น  ㄺ  และ  ㄿ
นอกจากนี้ยังมีตัวที่ไม่แน่นอนในการออกเสียง  คือ  ㄼ  และ  ㄺ
ส่วนใหญ่  ㄼ  จะออกเสียงเป็นแม่กล ตามตัวหน้า จึงจัดให้อยู่ในแม่กล
และ  ㄺ  ส่วนใหญ่จะออกเสียง  แม่กก  จึงจัดให้อยู่ในแม่กก

----------------------------------------------------------

การผสมคำของเกาหลี

เริ่มจาก  พยัญชนะ  ซึ่งก็ได้แก่พยัญชนะ  ทั้งเดี่ยวและคู่ในบทความแรก

                           ㄱ


สระ   สระแนวนอน  ㅜ,ㅠ,ㅗ,ㅛ,ㅡ  จะวางไว้ใต้พยัญชนะ  ดังนี้

              고  ,  구  ,  규  , 고  , 교  ,  그

สระแนวตั้ง  ㅏ,ㅑ,ㅓ,ㅕ,ㅣ,ㅔ,ㅖ,ㅐ,ㅒ  จะวางไว้ด้านขวาของพยัญชนะ  ดังนี้

 가  ,  갸  ,  거  ,  겨  ,  기  ,  게  ,  계  ,  개  ,  걔

ดังนั้นสระผสมซึ่งมีทั้งแนวนอน และแนวตั้ง  จึงวางอยู่ทั้งด้านล่าง  และด้านขวาของพยัญชนะ  ดังนี้

                  과 , 궈 , 긔 ,  궤  และ  ฯลฯ


ต่อมา คือ ตัวสะกด  ซึ่งจะวางไว้ด้านล่างสุด  ดังนี้

                         강  ,  궁  เป็นต้น


ต่ออีกนิดกับการโยงเสียง  ในภาษาเกาหลีนั้น เนื่องจากการที่  ㅇ  ไม่มีเสียงเป็นของตนเอง
จึงต้องมีการโยงเสียง  หากอยู่ในพยางค์แรก  จะโยงเสียงจากพยัญชนะ

          와   ตัว  ㅇ  +  ㅘ   อ่านว่า   วา

หากอยู่ในพยางค์ถัดไป ที่คำหน้ามีตัวสะกด  จะโยงเสียงตัวสะกดจากคำหน้า

오늘을   อ่านว่า  โอนือรึล  ไม่ใช่  โอนึลอึล  เนื่องจากการโยง  ㄹ จาก  늘

-------------------------------------------------------

ยากไหม???  ถ้ายากก็เลิกเรียน!!!!  ㅋㅋㅋ
(ㅋㅋㅋ  เป็นการหัวเราะของคนเกาหลี  แบบเดียวกับ  555  ของเรา  อารมณ์จะ คึคึคึ)